นโยบายการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี
บริษัท สมาร์ททีทีซี จํากัด (มหาชน) (“บริษัท”) ได้ตระหนักถึงความสําคัญของการกํากับดูแลกิจการที่ดีว่า เป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วย ส่งเสริม การดําเนินงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพและ มีการเจริญเติบโต อย่างยั่งยืน ซึ่งจะนําไปสู่ประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วน เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตั้งแต่ พนักงาน ผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ดังนั้นคณะกรรมการบริษัทจึงได้เห็นควร ให้มีการจัดทํา นโยบายการกํากับดูแลกิจการที่ดีขึ้น โดยครอบคลุมเนื้อหาหลักการสําคัญ ตั้งแต่โครงสร้าง บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการ จนถึงหลักการ ในการบริหารงานของ ผู้บริหารอย่างโปร่งใส ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ โดยอาศัย หลักปฏิบัติ และแนวปฏิบัติ ตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 ของคณะกรรมการกํากับ หลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ เพื่อเป็นแนวทางในการ บริหารองค์กรทําให้เกิดความเชื่อมั่น ว่าการดําเนินงานใด ๆ ของบริษัทเป็นไปด้วย ความเป็นธรรม และคํานึงถึงประโยชน์สูงสุด ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
เพื่อให้บริษัท มีความน่าเชื่อถือสําหรับผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย และเพื่อประโยชน์ ในการสร้างคุณค่าให้กิจการ อย่างยั่งยืน ตรงตามความมุ่งหวังของทั้งภาคธุรกิจ ผู้ลงทุน ตลอดจนตลาดทุนและสังคมโดยรวม บริษัท จึงได้จัดทํานโยบายการ กํากับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดหลักปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 ซึ่งจัดทําโดยสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเป็นแนวทาง ในการกํากับดูแลกิจการของบริษัท
หลักการและนโยบาย
การกํากับดูแลกิจการ
คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสําคัญต่อการปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดี โดยครอบคลุม หลักปฏิบัติตามหลักการกํากับดูแลกิจการ (Corporate Governance) 8 หลักปฏิบัติ ดังนี้
หลักปฏิบัติ 1: บทบาทและความรับผิดชอบ ของคณะกรรมการ
1.1
คณะกรรมการจะทําความเข้าใจบทบาทและตระหนักถึงความรับผิดชอบในฐานะผู้นําที่ต้องกํากับดูแลให้องค์กรมีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งครอบคลุมถึง
01
การกําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
02
การกําหนดกลยุทธ์ นโยบายการดําเนินงาน ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรสําคัญเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
03
การติดตาม ประเมินผล และดูแลการรายงานผลการดําเนินงาน
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
บริษัทได้กําหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการไว้อย่างชัดเจนตามรายละเอียดในกฎบัตรคณะกรรมการ โดยมีหน้าที่สําคัญในการกําหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย นโยบายและกลยุทธ์ที่สําคัญในการประกอบธุรกิจ ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ ประโยชน์ และหลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีในการสร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน และจะติดตาม ประเมินผล และดูแลการรายงานผลการดําเนินงานของบริษัท และ บริษัทย่อย เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้กําหนดไว้
คณะกรรมการบริษัทจะถ่ายทอดแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ โดยจัดทําแผน (Action Plan) กําหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการดําเนินการ ตัวชี้วัดผลสําเร็จที่ชัดเจน มีการพิจารณาอัตราค่าจ้างขีดความสามารถบุคลากร เครื่องมือ เงินทุน รวมถึง ความเสี่ยงในการบรรลุแผน
1.2
คณะกรรมการจะกํากับดูแลบริษัท ให้นําไปสู่ผลการกํากับดูแลกิจการที่ดี (governance outcome) อย่างน้อย ดังต่อไปนี้
01
สามารถแข่งขันได และมีผลประกอบการที่ดีโดยคํานึงถึงผลกระทบในระยะยาว
02
ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรม เคารพสิทธิและมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสีย
03
เป็นประโยชน์ต่อสังคม และพัฒนาหรือลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม
04
สามารถปรับตัวได้ภายใต้ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
1.2.1
คณะกรรมการจะคํานึงถึงจริยธรรมผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสําคัญ นอกเหนือจากผลประกอบการทางการเงิน
1.2.2
คณะกรรมการจะประพฤติตนเป็นแบบอย่างในฐานะผู้นําในการกํากับดูแลกิจการเพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจริยธรรม
1.2.3
คณะกรรมการจะจัดให้มีนโยบายสําหรับกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ที่แสดงถึงหลักการและแนวทางในการดําเนินงานเป็นลายลักษณ์อักษร อาทิ จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ เป็นต้น
1.2.4
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีการสื่อสารเพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนเข้าใจ มีกลไกเพียงพอ ที่เอื้อให้มีการปฏิบัติจริงตามนโยบายข้างต้น ติดตามผลการปฏิบัติ และทบทวนนโยบายและการปฏิบัติเป็นประจํา
1.3
คณะกรรมการจะดูแลให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบระมัดระวัง (Duty of Care) และซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กร (Duty of Loyalty) และดูแลให้การดําเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมติที่ประชุมผู้ ถือหุ้น ตลอดจนนโยบายหรือแนวทางที่ได้กําหนดไว้รวมทั้งมีกระบวนการอนุมัติการดําเนินงานที่สําคัญ เช่น การลงทุนการทําธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อบริษัท อย่างมีนัยสําคัญ การทํารายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน การได้มา/จําหน่ายไปซึ่ง ทรัพย์สิน การจ่ายเงินปันผล เป็นต้น
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
1.3.1
ในการพิจารณาว่ากรรมการและผู้บริหารได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง และซื่อสัตย์สุจริตต่อองค์กรแล้วหรือไม่นั้น อย่างน้อยคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรา 89/7 มาตรา 89/8 มาตรา 89/9 และ มาตรา 89/10 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม)
1.3.2
คณะกรรมการบริษัทจะดูแลให้บริษัทมีระบบหรือกลไกอย่างเพียงพอที่จะมั่นใจได้ว่าการดําเนินงานของบริษัทเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ มติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนนโยบายหรือแนวทางที่ได้กําหนดไว้ รวมทั้งมีกระบวนการอนุมัติการดําเนินงานที่สําคัญ เช่น การอนุมัติธุรกรรมที่มีผลกระทบต่อบริษัทอย่างมีนัยสําคัญ การทํารายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน การได้มา/จําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน การจ่ายเงินปันผล เป็นต้น
1.4
คณะกรรมการจะทําความเข้าใจขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และกําหนดขอบเขตการ มอบหมายหน้าที่และความรับผิดชอบให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการอย่างชัดเจน ตลอดจนติดตามดูแลให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและฝ่ายจัดการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
1.4.1
คณะกรรมการจะจัดทํากฎบัตรหรือนโยบายการกํากับดูแลกิจการของคณะกรรมการ ที่ระบุหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการเพื่อใช้อ้างอิงในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการทุกคน และจะจัดให้มีการทบทวนกฎบัตรดังกล่าวเป็นประจําอย่างน้อยปีละครั้ง รวมทั้งทบทวนการแบ่งบทบาทหน้าที่คณะกรรมการ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการ อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร
1.4.2
คณะกรรมการจะทําความเข้าใจขอบเขตหน้าที่ของตน และมอบหมายอํานาจการจัดการบริษัท ให้แก่ฝ่ายจัดการโดยทําการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างไรก็ดี การมอบหมายดังกล่าวมิได้เป็นการปลดเปลื้องหน้าที่ความ รับผิดชอบของคณะกรรมการ คณะกรรมการจะต้องติดตามดูแลฝ่ายจัดการให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ขอบเขตหน้าที่ของคณะกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการอาจพิจารณาแบ่งออกเป็น ดังนี้
เรื่องที่ควรดูแลให้มีการดําเนินการ
หมายถึง เรื่องที่คณะกรรมการเป็นผู้รับผิดชอบหลักให้มีในการดําเนินการอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้ฝ่ายจัดการเป็นผู้เสนอเรื่องเพื่อพิจารณาได้ ซึ่งได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้
A
การกําหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักในการประกอบธุรกิจ
B
การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ยึดมั่นในจริยธรรม รวมทั้งประพฤติตนเป็นต้นแบบ
C
การดูแลโครงสร้าง และการปฏิบัติของคณะกรรมการ ให้เหมาะสมต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายหลักในการประกอบธุรกิจ อย่างมีประสิทธิภาพ
D
การสรรหา พัฒนา กําหนดค่าตอบแทนและประเมินผลงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
E
การกําหนดโครงสร้างค่าตอบแทนที่เป็นเครื่องจูงใจให้บุคลากรปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับ
F
วัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักขององค์กร
เรื่องที่ดําเนินการร่วมกับฝ่ายจัดการ
หมายถึง เรื่องที่คณะกรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการจะพิจารณาร่วมกันโดยฝ่ายจัดการ เสนอให้คณะกรรมการเห็นชอบ ซึ่งคณะกรรมการจะกํากับดูแลให้นโยบายภาพรวมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักในการประกอบธุรกิจ รวมทั้ง มอบหมายให้ฝ่ายจัดการ ไปดําเนินการโดยคณะกรรมการ ติดตามและให้ฝ่ายจัดการรายงานให้คณะกรรมการทราบเป็นระยะ ๆ ตามที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้
A
การกําหนดและทบทวนกลยุทธ์ เป้าหมาย แผนงานประจําปี
B
การดูแลความเหมาะสมเพียงพอของระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน
C
การกําาหนดอํานาจดําเนินการที่เหมาะสมกับความรับผิดชอบของฝ่ายจัดการ
D
การกําาหนดกรอบการจัดสรรทรัพยากร การพัฒนาและงบประมาณ เชน นโยบายและแผนการบริหารจัดการบุคคล และนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
E
การติดตามและประเมินผลการดําเนินงาน
F
การดูแลให้การเปิดเผยข้อมูลทางการเงินและไม่ใช่การเงินที่มีความน่าเชื่อถือ
เรื่องที่คณะกรรมการไม่ควรดําเนินการ
หมายถึง เรื่องที่คณะกรรมการจะกํากับดูแลระดับนโยบาย โดยมอบหมายให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และฝ่ายจัดการเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดําเนินการ ซึ่งได้แก่เรื่องดังต่อไปนี้
A
การจัดการ (execution) ให้เป็นไปตามกลยุทธ์ นโยบาย แผนงานที่คณะกรรมการอนุมัติแล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการควรปล่อยให้ฝ่ายจัดการรับผิดชอบการตัดสินใจดําเนินงาน การจัดซื้อจัดจ้างการรับบุคลากรเข้าทํางาน ฯลฯ ตามกรอบนโยบายที่กําหนดไว้และติดตามดูแลผล โดยไม่แทรกแซงการตัดสินใจ เว้นแต่มีเหตุจําเป็น
B
เรื่องที่ข้อกําหนดห้ามไว้ เช่น การอนุมัติรายการที่กรรมการมีส่วนได้เสีย เป็นต้น
หลักปฏิบัติ 2: กําหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท ที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
2.1
คณะกรรมการจะกําหนดหรือดูแลให้วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท (objectives) เป็นไปเพื่อความยั่งยืน โดยเป็นวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่สอดคล้องกับการสร้างคุณค่าให้ทั้งบริษัท ลูกค้า ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมโดยรวม
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
2.1.1
คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลให้บริษัท มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลัก (objectives) ที่ชัดเจน เหมาะสม สามารถใช้เป็นแนวคิดหลักในการกําหนดรูปแบบธุรกิจ (business model) และสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน โดยจัดทําเป็นวิสัยทัศน์ และค่านิยมร่วมขององค์กร (vision and values) หรือวัตถุประสงค์และหลักการ (principles and purposes) หรืออื่น ๆ ในทํานองเดียวกัน
2.1.2
ในการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลัก คณะกรรมการจะกําหนดรูปแบบธุรกิจ (business model) ที่สามารถสร้างคุณค่าให้ทั้งแก่บริษัท ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมโดยรวมควบคู่กันไปโดยพิจารณาถึง
01
สภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงปัจจัยต่าง ๆ รวมทั้งการนําเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม
02
ความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้เสีย
03
ความพร้อม ความชํานาญ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัท
04
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท
05
กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัท
06
ความสามารถในการทํากําไร หรือแข่งขันด้วยการสร้างคุณค่าให้บริษัท และลูกค้า (value
proposition)
07
ความสามารถในการดํารงอยู่ของบริษัท ในระยะยาว ภายใต้ปัจจัยทั้งโอกาสและความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อบริษัท และผู้มีส่วนได้เสียได้
2.1.3
คณะกรรมการจะส่งเสริมค่านิยมขององค์กรในการกํากับดูแลกิจการที่ดี เช่น ความรับผิดชอบในผลการกระทํา (accountability) ความเที่ยงธรรม (integrity) ความโปร่งใส (transparency) ความเอาใจใส่ (due consideration of social and environmental responsibilities) เป็นต้น
2.1.4
คณะกรรมการจะส่งเสริมการสื่อสาร และเสริมสร้างให้วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กรสะท้อนอยู่ในการตัดสินใจและการดําเนินงานของบุคลากรในทุกระดับ จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร
2.2
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้ วัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนกลยุทธ์ในระยะเวลาปานกลางและ/หรือประจําปีของบริษัท สอดคล้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท โดยมีการนําเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
2.2.1
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้การจัดทํากลยุทธ์และแผนงานประจําปีที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท โดยคํานึงถึงปัจจัยแวดล้อมของบริษัท ณ ขณะนั้น ตลอดจนโอกาสและ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และสนับสนุนให้มีการจัดทํา หรือทบทวนวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์สําหรับระยะปานกลาง 3-5 ปีด้วย เพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธ์และแผนงานประจําปีได้คํานึงถึงผลกระทบในระยะเวลาที่ยาวขึ้น และยังพอจะคาดการณ์ได้ตามสมควร
2.2.2
ในการกําหนดกลยุทธ์และแผนงานประจําปี คณะกรรมการจะดูแลให้มีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ปัจจัยและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องตลอดสาย value chain รวมทั้งปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหลักของบริษัท โดยมีกลไกที่ทําให้เข้าใจความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง
01
ระบุวิธีการ กระบวนการ ช่องทางการมีส่วนร่วมหรือช่องทางการสื่อสารระหว่างผู้มีส่วนได้เสียกับบริษัท ไว้ชัดเจน เพื่อให้บริษัท สามารถเข้าถึงและได้รับข้อมูลประเด็นหรือความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มได้อย่างถูกต้องใกล้เคียงมากที่สุด
02
ระบุผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องของบริษัท ทั้งภายในและภายนอก ทั้งที่เป็นตัวบุคคล กลุ่มบุคคลหน่วยงานองค์กร เช่น พนักงาน ผู้ลงทุน ลูกค้า คู่ค้า ชุมชน หน่วยงานราชการ หน่วยงานกํากับดูแล เป็นต้น
03
ระบุประเด็นและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนําไปวิเคราะห์และจัดระดับประเด็นดังกล่าว ตามความสําคัญและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อทั้งบริษัท และผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งนี้ เพื่อเลือกเรื่องสําคัญ ที่จะเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียมาดําเนินการให้เกิดผล
2.2.3
คณะกรรมการจะกําหนดเป้าหมายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและศักยภาพของบริษัท โดยคณะกรรมการจะพิจารณากําหนดเป้าหมายทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน นอกจากนี้ คณะกรรมการจะตระหนักถึงความเสี่ยงของการตั้งเป้าหมายที่อาจนําไปสู่การประพฤติที่ผิดกฎหมาย หรือขาดจริยธรรม (unethical conduct)
2.2.4
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีการถ่ายทอดวัตถุประสงค์และเป้าหมายผ่านกลยุทธ์และแผนงานให้ทั่วทั้งองค์กร
2.2.5
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีการจัดสรรทรัพยากรและการควบคุมการดําเนินงานที่เหมาะสมและติดตามการดําเนินการตามกลยุทธ์และแผนงานประจําปี โดยจัดให้มีผู้ทําหน้าที่รับผิดชอบดูแลและติดตามผลการดําเนินงาน
หลักปฏิบัติ 3: เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
3.1
คณะกรรมการมีหน้าที่รับผิดชอบในการกําหนดและทบทวนโครงสร้างคณะกรรมการ ทั้งในเรื่องขนาดองค์ประกอบ สัดส่วนกรรมการที่เป็นอิสระที่เหมาะสมและจําเป็นต่อการนําพาองค์กรสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักที่กําหนดไว้
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
3.1.1
คณะกรรมการมีหน้าที่ดูแลให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการที่มีคุณสมบัติหลากหลายทั้งในด้าน
ดานทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถและคุณลักษณะเฉพาะด้าน เพื่อให้มั่นใจว่า จะได้คณะกรรมการโดยรวมที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถ เข้าใจและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้ รวมทั้งต้องมีกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารอย่างน้อย 1 คนที่มีประสบการณ์ในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมหลักที่บริษัทดําเนินกิจการอยู่
3.1.2
คณะกรรมการจะพิจารณาจํานวนกรรมการที่เหมาะสม สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยต้องมีจํานวนกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่ควรเกิน 12 คน
3.1.3
คณะกรรมการจะมีสัดส่วนระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารที่สะท้อนอํานาจที่ถ่วงดุลกันอย่างเหมาะสม โดยกรรมการอิสระมีจํานวนและคุณสมบัติของกรรมการอิสระตามหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้ง
ดูแลให้กรรมการอิสระสามารถทํางานร่วมกับคณะกรรมการทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแสดงความเห็นได้อย่างอิสระ
3.1.4
คณะกรรมการจะดําเนินการเปิดเผยนโยบายในการกําหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการที่มีความหลากหลาย และข้อมูลกรรมการ อาทิ อายุ ประวัติการศึกษา ประสบการณ์ สัดส่วนการถือหุ้น จํานวนปีที่ดํารงตําแหน่งกรรมการ และการดํารงตําแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่น ในรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report) และบน website ของบริษัท
3.2
คณะกรรมการจะเลือกบุคคลที่เหมาะสมเป็นประธานกรรมการ และดูแลให้มั่นใจว่า องค์ประกอบและการดําเนินงานของคณะกรรมการเอื้อต่อการใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจอย่างมีอิสระ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
3.2.1
ประธานกรรมการควรเป็นกรรมการอิสระ ทั้งนี้ หากประธานกรรมการไม่เป็นกรรมการอิสระ องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทจะต้องประกอบไปด้วยกรรมการอิสระมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือมีการแต่งตั้งกรรมการอิสระคนหนึ่งร่วมพิจารณากําหนดวาระการประชุมคณะกรรมการ เพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอํานาจระหว่างคณะกรรมการบริษัทและฝ่ายจัดการ
3.2.2
ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกัน คณะกรรมการจะกําหนดอํานาจหน้าที่ของประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารให้ชัดเจน และเพื่อไม่ให้คนใดคนหนึ่งมีอํานาจโดยไม่จํากัด บริษัท จะแยกบุคคลที่ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการออกจากบุคคลที่ดํารงตําแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
3.2.3
ประธานกรรมการมีบทบาทเป็นผู้นําของคณะกรรมการ โดยหน้าที่ของประธานกรรมการจะครอบคลุมเรื่อง ดังต่อไปนี้
01
การกํากับ ติดตาม และดูแลให้มั่นใจได้ว่า การปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร
02
การดูแลให้มั่นใจว่า กรรมการทุกคนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่มีจริยธรรม และการกํากับดูแลกิจการที่ดี
03
การกําหนดวาระการประชุมคณะกรรมการโดยหารือร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และมีมาตรการที่ดูแลให้เรื่องสําคัญได้ถูกบรรจุเป็นวาระการประชุม
04
การจัดสรรเวลาไว้อย่างเพียงพอที่ฝ่ายจัดการจะเสนอเรื่องและมากพอที่กรรมการจะอภิปรายประเด็นสําคัญกันอย่างรอบคอบโดยทั่วกัน การส่งเสริมให้กรรมการมีการใช้ดุลยพินิจที่รอบคอบ ให้ความเห็นได้อย่างอิสระ
05
การเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกรรมการที่เป็นผู้บริหารและกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร และระหว่างคณะกรรมการและฝ่ายจัดการ
3.2.4
คณะกรรมการจะกําหนดนโยบายให้กรรมการอิสระมีการดํารงตําแหน่งต่อเนื่องไม่เกินเก้า (9) ปีนับจากวันที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งกรรมการอิสระครั้งแรก ในกรณีที่จะแต่งตั้งกรรมการอิสระนั้นให้ดํารงตําแหน่งต่อไป คณะกรรมการจะพิจารณาอย่างสมเหตุสมผลถึงความจําเป็นดังกล่าว
3.2.5
เพื่อให้เรื่องสําคัญได้รับการพิจารณาในรายละเอียดอย่างรอบคอบ คณะกรรมการจะพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย จํานวน 4 คณะ เพื่อพิจารณาประเด็นเฉพาะเรื่อง กลั่นกรองข้อมูล และเสนอแนวทางพิจารณาก่อนเสนอให้คณะกรรมการบริษัทเห็นชอบต่อไป ดังนี้
1 คณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบมีอํานาจหน้าที่สอบทานให้บริษัทมีการรายการทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และระบบการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในหรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทําหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าวรวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกําหนดของตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า รายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท และปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ (โครงสร้าง คุณสมบัติ การแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ)
2 คณะกรรมการบริหาร
คณะกรรมการบริหารมีอํานาจหน้าที่ในการร่วมกําหนดแนวทาง กลยุทธ์ และแผนการดําเนินธุรกิจเพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท เพื่อพิจารณา บริหารจัดการ และกํากับดูแลการบริหารงาน และการดําเนินงานโดยรวมของบริษัท รวมถึงพิจารณาระงับ ยกเลิก และอนุมัติการใช้จ่าย การจัดซื้อ การจัดจ้าง และการดําเนินงานอื่น ๆ ตามอํานาจที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท (โครงสร้าง คุณสมบัติ การแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหาร ให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎบัตรคณะกรรมการบริหาร)
3 คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน
คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทนมีอํานาจหน้าที่ในการพิจารณาหลักเกณฑ์ และรูปแบบในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้ารับการเสนอชื่อเป็นกรรมการ และกรรมการชุดย่อยของบริษัท ด้วยความโปร่งใส รวมถึงการพิจารณาค่าตอบแทนให้แก่กรรมการ กรรมการชุดย่อย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูงด้วยความเป็นธรรม สมเหตุสมผล และสอดคล้องกับผลประกอบการของบริษัท ทั้งนี้ เพื่อให้ค่าตอบแทนดังกล่าวอยู่ในระดับที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันได้ในตลาดซึ่งประกอบธุรกิจเดียวกัน (โครงสร้าง คุณสมบัติ การแต่งตั้ง วาระการดํารงตําแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปตามที่กําหนดในกฎบัตร คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน)
3.2.6
คณะกรรมการจะดูแลให้มีการเปิดเผยบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อย จํานวนครั้งของการประชุมและจํานวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุมในปีที่ผ่านมาและรายงานผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการชุดย่อยทุกชุด
3.3
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้การสรรหาและคัดเลือกกรรมการมีกระบวนการที่โปร่งใสและชัดเจน เพื่อให้ได้คณะกรรมการที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับองค์ประกอบที่กําหนดไว้
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
3.3.1
คณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีการประชุม เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลเพื่อให้ได้กรรมการที่มีคุณสมบัติที่จะทําให้คณะกรรมการมีองค์ประกอบความรู้ความชํานาญที่เหมาะสมรวมทั้งมีการพิจารณาประวัติของบุคคลดังกล่าว ก่อนจะนําเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้แต่งตั้งกรรมการ นอกจากนี้ บริษัทจะแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบถึงข้อมูลอย่างเพียงพอเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อประกอบการตัดสินใจ
3.3.2
คณะกรรมการบริษัทจะทบทวนหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการก่อนที่จะมีการสรรหากรรมการที่ครบวาระ และในกรณีที่เป็นการเสนอชื่อกรรมการรายเดิม คณะกรรมการบริษัทจะคํานึงถึงผลการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการรายดังกล่าวประกอบด้วย
3.3.3
ในกรณีที่คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งบุคคลใดให้เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการบริษัทในกระบวนการสรรหา
และกําหนดค่าตอบแทนให้มีการเปิดเผยข้อมูลของที่ปรึกษานั้นไว้ในรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report) รวมทั้งความเป็นอิสระ หรือไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
3.4
ในการเสนอค่าตอบแทนคณะกรรมการให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติ คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาให้โครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนมีความเหมาะสมกับความรับผิดชอบและจูงใจให้คณะกรรมการนําพาองค์กรให้ดําเนินงานตามเป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาว
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
3.4.1
ค่าตอบแทนของกรรมการจะต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายระยะยาวของบริษัท ประสบการณ์ภาระหน้าที่ ขอบเขตของบทบาทและความรับผิดชอบ (Accountability and Responsibility) รวมถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากกรรมการแต่ละคน ทั้งนี้ อยู่ในลักษณะที่เปรียบเทียบได้กับระดับที่ปฏิบัติอยู่ในอุตสาหกรรม
3.4.2
ผู้ถือหุ้นต้องเป็นผู้อนุมัติโครงสร้างและอัตราค่าตอบแทนกรรมการ ทั้งรูปแบบที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน โดยคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาค่าตอบแทนแต่ละรูปแบบให้มีความเหมาะสม ทั้งค่าตอบแทนในอัตราคงที่ (เช่น ค่าตอบแทนประจํา เบี้ยประชุม) และค่าตอบแทนตามผลดําเนินงานของบริษัท (เช่น โบนัส บําเหน็จ) โดยเชื่อมโยงกับมูลค่าที่บริษัท สร้างให้กับผู้ถือหุ้น แต่ไม่อยู่ในระดับที่สูงเกินไปจนทําให้เกิดการมุ่งเน้นแต่ผลประกอบการระยะสั้น
3.4.3
คณะกรมการจะเปิดเผยนโยบายและหลักเกณฑ์การกําหนดค่าตอบแทนกรรมการที่สะท้อนถึงภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละคน รวมทั้งรูปแบบและจํานวนของค่าตอบแทนด้วย ทั้งนี้ จํานวนเงินค่าตอบแทนที่เปิดเผย
3.5
คณะกรรมการมีหน้าที่กํากับดูแลให้กรรมการทุกคนมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอ
3.5.1
คณะกรรมการจะดูแลให้มั่นใจว่า มีกลไกสนับสนุนให้กรรมการเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตน
3.5.2
คณะกรรมการจะกําหนดหลักเกณฑ์ในการดํารงตําแหน่งในบริษัทอื่นของกรรมการโดยพิจารณาถึงประสิทธิภาพการทํางานของกรรมการที่ดํารงตําแหน่งหลายบริษัท และเพื่อให้มั่นใจว่ากรรมการสามารถทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ในบริษัท ได้มีอย่างเพียงพอ โดยจะกําหนดจํานวนบริษัทจดทะเบียนที่กรรมการแต่ละคนจะไปดํารงตําแหน่งให้เหมาะสมกับลักษณะหรือสภาพธุรกิจของบริษัท
3.5.3
คณะกรรมการจะจัดให้มีระบบการรายงานการดํารงตําแหน่งอื่นของกรรมการ และเปิดเผยให้เป็นที่รับทราบ
3.5.4
ในกรณีที่กรรมการดํารงตําแหน่งกรรมการหรือผู้บริหาร หรือมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในกิจการอื่นที่มีความขัดแย้ง หรือสามารถใช้โอกาสหรือข้อมูลของบริษัท เพื่อประโยชน์ของตน คณะกรรมการต้องดูแลให้มั่นใจว่า บริษัทมีมาตรการป้องกันอย่างเพียงพอและมีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบตามความเหมาะสม
3.5.5
ให้กรรมการแต่ละคนเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนการประชุมคณะกรรมการบริษัททั้งหมดที่ได้จัดให้มีขึ้นในรอบปี เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุจําเป็น
3.6
คณะกรรมการจะจัดให้มีการประเมินผลการทํางานของกรรมการทั้งคณะ รวมทั้งประเมินผลการทํางานของกรรมการรายบุคคล เพื่อพิจารณาทบทวนผลงาน ปัญหาและอุปสรรคในแต่ละปี เพื่อสามารถนําผลการประเมินไปใช้ในการพัฒนา และปรับปรุงการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ได้
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
3.6.1
คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยจะประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทร่วมกันพิจารณาผลงานและปัญหา เพื่อการปรับปรุงแก้ไขต่อไป โดยควรกําหนดบรรทัดฐานที่จะใช้เปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานอย่างมีหลักเกณฑ์
3.6.2
ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน จะต้องจัดให้มีการประเมินทั้งแบบคณะและรายบุคคล โดยอย่างน้อยต้องเป็นวิธีการประเมินด้วยตนเอง (Self-Evaluation) หรือคณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาใช้วิธีประเมินแบบไขว้ (Cross Evaluation) ร่วมด้วย รวมทั้ง เปิดเผยหลักเกณฑ์ ขั้นตอนและผลการประเมินในภาพรวมไว้ในแบบ 56-1 One Report
3.6.3
คณะกรรมการบริษัทจะจัดให้มีที่ปรึกษาภายนอกมาช่วยในการกําหนดแนวทางและเสนอแนะประเด็นในการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยทุก ๆ 3 ปี และเปิดเผยการดําเนินการดังกล่าวไว้ในรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report)
3.6.4
ผลการประเมินของคณะกรรมการบริษัทต้องถูกนําไปใช้ประกอบการพิจารณาความเหมาะสมขององค์ประกอบคณะกรรมการบริษัท
3.7
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้คณะกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ลักษณะการประกอบธุรกิจ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ ตลอดจนสนับสนุนให้กรรมการทุกคนได้รับการเสริมสร้างทักษะและความรู้สําหรับการปฏิบัติหน้าที่กรรมการอย่างสม่ำเสมอ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
3.7.1
คณะกรรมการบริษัทจะดูแลให้มั่นใจว่า บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการใหม่จะได้รับการแนะนําและมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งรวมถึงความเข้าใจในวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมขององค์กร ตลอดจนลักษณะธุรกิจ และแนวทางการดําเนินธุรกิจของกิจการ
3.7.2
คณะกรรมการบริษัทจะดูแลให้กรรมการได้รับการอบรมและพัฒนาความรู้ที่จําเป็นอย่างต่อเนื่อง
3.7.3
คณะกรรมการบริษัทจะศึกษาและทําความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย กฎเกณฑ์ มาตรฐาน ความเสี่ยง และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ รวมทั้งได้รับทราบข้อมูลที่เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ
3.7.4
คณะกรรมการบริษัทจะเปิดเผยข้อมูลการฝึกอบรมและพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องของคณะกรรมการบริษัทในรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report)
3.8
คณะกรรมการจะดูแลให้มั่นใจว่าการดําเนินงานของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความเรียบร้อยสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็น และมีเลขานุการบริษัทที่มีความรู้และประสบการณ์ที่จําเป็นและเหมาะสมต่อการสนับสนุนการดําเนินงานของคณะกรรมการ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
3.8.1
คณะกรรมการจะจัดให้มีกําหนดการประชุมและวาระการประชุมคณะกรรมการเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้กรรมการสามารถจัดเวลาและเข้าร่วมประชุมได้
3.8.2
จํานวนครั้งของการประชุมคณะกรรมการจะพิจารณาให้เหมาะสมกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการและลักษณะการดําเนินธุรกิจของบริษัท แต่ไม่น้อยกว่าสี่ (4) ครั้งต่อปี
3.8.3
ณะกรรมการจะดูแลให้มีกลไกให้กรรมการแต่ละคน รวมทั้งฝ่ายจัดการมีอิสระที่จะเสนอเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัท เข้าสู่วาระการประชุม
3.8.4
ในการเรียกประชุมกรรมการ ให้ประธานกรรมการบริษัทหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจัดส่งหนังสือเชิญประชุม พร้อมระเบียบวาระการประชุม และเอกสารประกอบการประชุมไปให้กรรมการล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 3 วันทําการก่อนวันประชุม เพื่อให้กรรมการมีเวลาศึกษาล่วงหน้าก่อนเข้าประชุม เว้นแต่เป็นกรณีจําเป็นเร่งด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่น เช่น ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือกําหนดวันนัดประชุมเร็วกว่านั้นได้
3.8.5
คณะกรรมการจะสนับสนุนให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเชิญผู้บริหารระดับสูงเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเพื่อให้สารสนเทศรายละเอียดเพิ่มเติมในฐานะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรง และเพื่อให้มีโอกาสรู้จักผู้บริหารระดับสูงสําหรับใช้ประกอบการพิจารณาแผนการสืบทอดตําแหน่ง
3.8.6
คณะกรรมการจะเข้าถึงสารสนเทศที่จําเป็นเพิ่มเติมได้จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เลขานุการบริษัท หรือผู้บริหารอื่นที่ได้รับมอบหมาย ภายในขอบเขตนโยบายที่กําหนด และในกรณีที่จําเป็น คณะกรรมการอาจจัดให้มีความเห็นอิสระจากที่ปรึกษาหรือผู้ประกอบวิชาชีพภายนอก โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท
3.8.7
คณะกรรมการอาจพิจารณากําหนดเป็นนโยบายให้กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหารมีโอกาสที่จะประชุมระหว่างกันเอง ตามความจําเป็นเพื่ออภิปรายปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดการที่อยู่ในความสนใจ โดยไม่มีฝ่ายจัดการร่วมด้วย โดยแจ้งให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทราบถึงผลการประชุมด้วย
3.8.8
คณะกรรมการจะกําหนดคุณสมบัติและประสบการณ์ของเลขานุการบริษัทที่เหมาะสมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในการให้คําแนะนําเกี่ยวกับด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่คณะกรรมการจะต้องทราบ ดูแลการจัดการเอกสารการประชุมคณะกรรมการ เอกสารสําคัญต่าง ๆ และกิจกรรมของคณะกรรมการ รวมทั้งประสานงานให้มีการ ปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ นอกจากนี้ คณะกรรมการจะเปิดเผยคุณสมบัติและประสบการณ์ของเลขานุการ บริษัทในรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report) และบน website ของบริษัท
3.8.9
เลขานุการบริษัทจะฝึกอบรมและพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องที่จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่และในกรณีที่มีหลักสูตรรับรอง (Certified Program) เลขานุการบริษัทจะเข้ารับการอบรมหลักสูตรดังกล่าวด้วย
หลักปฏิบัติ 4: สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
4.1
คณะกรรมการจะดําเนินการให้มั่นใจว่ามีการสรรหาและพัฒนาประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และคุณลักษณะที่จําเป็นต่อการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
4.1.1
คณะกรรมการจะพิจารณาหรือมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อดํารงตําแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
4.1.2
คณะกรรมการจะติดตามดูแลให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดูแลให้มีผู้บริหารระดับสูงที่เหมาะสมโดยอย่างน้อย คณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารจะร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคล เห็นชอบบุคคลที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเสนอให้เป็นผู้บริหารระดับสูง
4.1.3
พื่อให้การดําเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่อง คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีแผนสืบทอดตําแหน่ง (Succession Plan) เพื่อเป็นการเตรียมสืบทอดตําแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง
4.1.4
คณะกรรมการจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงได้รับการอบรม และพัฒนา เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
4.2
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีการกําหนดโครงสร้างค่าตอบแทนและการประเมินผลที่เหมาะสม
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
4.2.1
คณะกรรมการโดยคําเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารจะกําหนดโครงสร้างค่าตอบแทนที่เป็นเครื่องจูงใจให้ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักขององค์กร และสอดคล้องกับผลประโยชน์ของบริษัทในระยะยาว
4.2.2
ประเมินผลงาน ตลอดจนอนุมัติโครงสร้าง
ค่าตอบแทนของผู้บริหารระดับสูง และติดตามให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประเมินผู้บริหารระดับสูงให้สอดคลองกับหลักการประเมินดังกล่าว
4.3
คณะกรรมการจะทําความเข้าใจโครงสร้างและความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้นที่อาจมีผลกระทบต่อการบริหารและการคําเนินงานของบริษัท
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
4.3.1
คณะกรรมการจะทําความเข้าใจโครงสร้างและความสัมพันธ์ของผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของข้อตกลงภายในกิจการครอบครัวไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ข้อตกลงผู้ถือหุ้น หรือนโยบายของกลุ่มบริษัทแม่ ซึ่งมีผลต่ออํานาจในการควบคุมการบริหารจัดการบริษัท
4.3.2
คณะกรรมการจะดูแลไม่ให้ข้อตกลงตามข้อ 4.3.1 เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ เช่น การมีบุคคลที่เหมาะสมมาสืบทอดตําแหน่ง
4.3.3
คณะกรรมการจะดูแลให้มีการเปิดเผยข้อมูลตามข้อตกลงต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการควบคุมบริษัท
4.4
คณะกรรมการจะติดตามดูแลการบริหารและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์และแรงจูงใจที่เหมาะสม
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
4.4.1
คณะกรรมการจะดูแลให้มีการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สอดคล้องกับทิศทางและกลยุทธ์ขององค์กร พนักงานในทุกระดับมีความรู้ ความสามารถ แรงจูงใจที่เหมาะสม และได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมเพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถขององค์กรไว้
4.4.2
คณะกรรมการจะดูแลให้มีการจัดตั้งกองทุนสํารองรองเลี้ยงชีพหรือกลไกอื่นเพื่อดูแลให้พนักงานมีการออมอย่างเพียงพอสําหรับรองรับการเกษียณ รวมทั้งสนับสนุนให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการเงิน การเลือกนโยบายการลงทุนที่สอดคล้องกับช่วงอายุ ระดับความเสี่ยง
หลักปฏิบัติ 5: ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
5.1
คณะกรรมการให้ความสําคัญและสนับสนุนการดําเนินการที่ก่อให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างคุณประโยชน์ต่อลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
5.1.1
คณะกรรมการจะให้ความสําคัญกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร และดูแลให้ฝ่ายจัดการนําไปเป็นส่วนหนึ่งในการทบทวนกลยุทธ์ การวางแผนพัฒนาปรับปรุงการดําเนินงานและการติดตามผลการดําเนินงาน
5.1.2
คณะกรรมการจะส่งเสริมการดําเนินการ เพื่อเพิ่มคุณค่าให้บริษัท ตามสภาพปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งอาจครอบคลุมการกําหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) วิธีคิดมุมมองในการออกแบบและพัฒนาสินค้าและบริการ การวิจัย การปรับปรุงกระบวนการผลิตและกระบวนการทํางาน รวมทั้งการร่วมมือกับคู่ค้า
ทั้งนี้ การดําเนินการข้างต้นควรมีลักษณะเป็นไปเพื่อการสร้างประโยชน์ร่วมกันทั้งแก่บริษัท ลูกค้า คู่ค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม และไม่สนับสนุนให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม กิจกรรมที่ผิดกฎหมายหรือขาดจริยธรรม
5.2
คณะกรรมการจะติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และสะท้อนอยู่ในแผนดําเนินการ (Operational Plan) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทุกฝ่ายขององค์กรได้ดําเนินการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก และแผนกลยุทธ์ (Strategies) ของบริษัท
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
คณะกรรมการจะดูแลให้มีกลไกที่ทําให้มั่นใจว่า บริษัท ประกอบธุรกิจอย่างมีจริยธรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ละเมิดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกส่วนในองค์กรสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก ที่เป็นไปด้วยความยั่งยืน โดยจัดทํานโยบายจรรยาบรรณทางธุรกิจให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้
ความรับผิดชอบต่อพนักงานและลูกจ้าง
ดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อพนักงานและลูกจ้างอย่างเป็นธรรมและเคารพสิทธิมนุษยชน ได้แก่ การกําหนดค่าตอบแทนและค่าผลประโยชน์อื่น ๆ ที่เป็นธรรม การจัดสวัสดิการที่ไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดหรือมากกว่าตามความเหมาะสมการดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทํางาน การอบรมให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพและส่งเสริม ความก้าวหน้า รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานมีโอกาสพัฒนาทักษะการทํางานในด้านอื่น ๆ
ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
โดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง และคํานึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย ความเป็นธรรม การเก็บรักษาข้อมูลลูกค้า การบริการหลังการขายตลอดช่วงอายุสินค้าและบริการการติดตามวัดผลความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อการพัฒนาปรับปรุงสินค้าและบริการ รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการขายต้องกระทําอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ทําให้เกิดความเข้าใจผิด หรือใช้ประโยชน์จากความเข้าใจผิดของลูกค้า
ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า
โดยมีกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและเงื่อนไขสัญญาหรือข้อตกลงที่เป็นธรรม การช่วยให้ความรู้ พัฒนาศักยภาพและยกระดับความสามารถในการผลิตและให้บริการให้ได้มาตรฐาน ชี้แจงและดูแลให้คู่ค้าเคารพสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อแรงงานตนเองอย่างเป็นธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงติดตามตรวจสอบและประเมินผลคู่ค้าเพื่อพัฒนาการประกอบธุรกิจระหว่างกันอย่างยั่งยืน
ความรับผิดชอบต่อชุมชน
โดยนําความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจมาพัฒนาโครงการที่สามารถสร้างเสริมประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม มีการติดตามและวัดผลความคืบหน้าและความสําเร็จในระยะยาว
ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
โดยป้องกัน ลด จัดการและดูแลให้มั่นใจว่าบริษัท จะไม่สร้างหรือก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมการใช้วัตถุดิบ การใช้พลังงาน การใช้น้ํา การใช้ทรัพยากร หมุนเวียน การปลดปล่อยและจัดการของเสียที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น
การแข่งขันอย่างเป็นธรรม
โดยการประกอบธุรกิจอย่างเปิดเผยโปร่งใสและไม่สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม
การต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น
ดยปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องและกําหนดให้บริษัท มีและประกาศนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่นต่อสาธารณะโดย บริษัท อาจพิจารณาเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมถึงสนับสนุนให้บริษัทอื่น ๆ และคู่ค้ามีและประกาศนโยบายการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชั่น รวมทั้งเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายด้วย
5.3
คณะกรรมการจะติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดสรรและจัดการทรัพยากรให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักได้อย่างยั่งยืน
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
5.3.1
คณะกรรมการจะตระหนักถึงความจําเป็นของทรัพยากรที่ต้องใช้ รวมทั้งตระหนักว่าการใช้ทรัพยากรแต่ละประเภทมีผลกระทบต่อกันและกัน
5.3.2
คณะกรรมการจะตระหนักว่า รูปแบบธุรกิจ (business model) ที่ต่างกัน ทําให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรที่ต่างกันด้วย ดังนั้น ในการตัดสินใจเลือกรูปแบบธุรกิจ ให้คํานึงถึงผลกระทบและความคุ้มค่าที่จะเกิดขึ้นต่อทรัพยากร โดยยังคงอยู่บนพื้นฐานของการมีจริยธรรม มีความรับผิดชอบและสร้างคุณค่าให้แก่บริษัทอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ทรัพยากรที่บริษัท จึงคํานึงถึงมีอย่างน้อย 4 ประเภท ได้แก่ การเงิน (Financial Capital) ด้านบุคลากร (Human Capital) สังคมและความสัมพันธ์ (Social and Relationship Capital) และธรรมชาติ (Natural Capital)
5.4
คณะกรรมการจะจัดให้มีกรอบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กร ที่สอดคล้องกับความต้องการของบริษัท รวมทั้งดูแลให้มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและพัฒนาการดําเนินงาน การบริหารความเสี่ยง เพื่อให้บริษัท สามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของบริษัท
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
5.4.1
คณะกรรมการจะจัดให้มีนโยบายในเรื่องการจัดสรรและการบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจ และการกําหนดแนวทางเพื่อรองรับในกรณีที่ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้เพียงพอตามที่กําหนดไว้
5.4.2
คณะกรรมการจะดูแลให้การบริหารความเสี่ยงขององค์กรครอบคลุมถึงการบริหารและจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย
5.4.3
คณะกรรมการจะจัดให้มีนโยบายและมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
ทั้งนี้ กรอบการกํากับดูแลและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศระดับองค์กร ได้แก่
01
บริษัท ได้ทําตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
02
บริษัท มีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ในการรักษาความลับ (Confidentiality) การรักษาความน่าเชื่อถือ (Integrity) และความพร้อมใช้ของข้อมูล (Availability) รวมทั้งป้องกันมิให้มีการนําข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ หรือมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
03
บริษัท ได้พิจารณาความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีมาตรการในการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวในด้านต่างๆ เช่น การบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management) การบริหารจัดการเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ (Incident Management) การบริหารจัดการทรัพย์สินสารสนเทศ (Asset Management) เป็นต้น
04
บริษัท ได้พิจารณาการจัดสรรและบริหารทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกําหนดหลักเกณฑ์และปัจจัยในการกําหนดลําดับความสําคัญของแผนงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ความเหมาะสมสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ ผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจ ความเร่งด่วนในการใช้งาน งบประมาณและทรัพยากรบุคคลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความสอดคล้องกับรูปแบบธุรกิจ (Business Model) เป็นต้น
หลักปฏิบัติ 6: ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
6.1
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มั่นใจว่า บริษัทมีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่จะทําให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิผล และมีการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
6.1.1
คณะกรรมการจะทําความเข้าใจความเสี่ยงที่สําคัญของบริษัท และอนุมัติความเสี่ยงที่ยอมรับได้
6.1.2
คณะกรรมการจะพิจารณาและอนุมัตินโยบายการบริหารความเสี่ยงที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก
กลยุทธ์ และความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของบริษัท สําหรับเป็นกรอบการปฏิบัติงานในกระบวนการบริหารความเสี่ยง ของทุกคนในองค์กรให้เป็นทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ คณะกรรมการจะให้ความสําคัญกับสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า และดูแลให้มีการทบทวนนโยบายการบริหารความเสี่ยงเป็นประจํา
6.1.3
คณะกรรมการจะดูแลให้บริษัทมีการระบุความเสี่ยงโดยพิจารณาปัจจัยทั้งภายนอกและภายในองค์กรที่อาจส่งผลให้บริษัท ไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กําหนดไว้ ทั้งนี้ ความเสี่ยงหลักที่คณะกรรมการจะให้ความสําคัญอาจแบ่งออกเป็น ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk) ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk) และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ (Compliance Risk) เป็นต้น
6.1.4
คณะกรรมการจะดูแลให้มั่นใจว่า บริษัท ได้มีการประเมินผลกระทบและโอกาสที่เกิดขึ้นของความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้เพื่อจัดลําดับความเสี่ยง และมีวิธีจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม
6.1.5
คณะกรรมการอาจมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบกลั่นกรองข้อ 6.1.1- 6.1.4 ก่อนเสนอให้คณะกรรมการพิจารณา
6.1.6
คณะกรรมการจะติดตามและประเมินประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ
6.1.7
คณะกรรมการมีหน้าที่ดูแลให้บริษัท ประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งของในประเทศและในระดับสากล
6.2
คณะกรรมการจะจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอิสระ
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
6.2.1
คณะกรรมการจะจัดให้มีคณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 3 คน ซึ่งทุกคนต้องเป็นกรรมการอิสระ และมีคุณสมบัติและหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
6.2.2
คณะกรรมการจะกําหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีหน้าที่อย่างน้อยตามที่ระบุไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบ
6.2.3
คณะกรรมการจะดูแลให้บริษัท จัดให้มีกลไกหรือเครื่องมือที่จะทําให้คณะกรรมการตรวจสอบสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เช่น เอื้ออํานวยให้คณะกรรมการตรวจสอบสามารถเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล การได้หารือร่วมกับผู้สอบบัญชี หรือแสวงหาความเห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใดมาประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจสอบได้
6.2.4
คณะกรรมการจะจัดให้มีบุคคลหรือหน่วยงานตรวจสอบภายในที่มีความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบในการพัฒนาและสอบทานประสิทธิภาพระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ทั้งรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบและเปิดเผยรายงานการสอบทานไว้ในรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report)
6.2.5
คณะกรรมการตรวจสอบต้องให้ความเห็นถึงความเพียงพอของระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน และเปิดเผยไว้ในรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report)
6.3
คณะกรรมการจะติดตามดูแลและจัดการความขัดแย้งของผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างบริษัท กับฝ่ายจัดการคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น รวมไปถึงการป้องกันการใช้ประโยชน์อันมิควรในทรัพย์สิน ข้อมูล และโอกาสของบริษัท และการทําธุรกรรมกับผู้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับบริษัท ในลักษณะที่ไม่สมควร
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
6.3.1
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งรวมถึงการกําหนดนโยบายและวิธีปฏิบัติในการรักษาความลับ (Confidentiality) การรักษาความน่าเชื่อถือ (Integrity) และความพร้อมใช้ของข้อมูล (Availability) รวมทั้งการจัดการข้อมูลที่อาจมีผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์ (Market Sensitive Information) นอกจากนี้ คณะกรรมการจะดูแลให้กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง และพนักงาน ตลอดจนบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อาทิ ที่ปรึกษาทางกฎหมาย ที่ปรึกษาทางการเงิน ปฏิบัติตามระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
6.3.2
คณะกรรมการจะดูแลให้มีการจัดการและติดตามรายการที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์ รวมทั้งดูแลให้มีแนวทางและวิธีปฏิบัติเพื่อให้การทํารายการดังกล่าวเป็นไปตามขั้นตอนการดําเนินการและการเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายกําหนดและเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท และผู้ถือหุ้นโดยรวมเป็นสําคัญโดยที่ผู้มีส่วนได้เสียไม่ควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
6.3.3
คณะกรรมการจะจัดให้มีข้อกําหนดให้กรรมการรายงานการมีส่วนได้เสียอย่างน้อยก่อนการพิจารณาวาระการ ประชุมคณะกรรมการ และบันทึกไว้ในรายงานการประชุมคณะกรรมการ คณะกรรมการจะดูแลให้กรรมการที่มีส่วนได้เสียอย่างมีนัยสําคัญในลักษณะที่อาจทําให้กรรมการรายดังกล่าวไม่สามารถให้ความเห็นได้อย่างอิสระ งดเว้นจากการมีส่วนร่วมในการประชุมพิจารณาในวาระนั้น
6.4
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีการจัดทํานโยบายและแนวปฏิบัติด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นที่ชัดเจนและสื่อสารในทุกระดับขององค์กรและต่อคนนอกเพื่อให้เกิดการนําไปปฏิบัติได้จริง รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
คณะกรรมการบริษัทจะจัดทํานโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (Anti-Corruption Policy) และจะจัดให้มีโครงการหรือแนวทางในการต่อต้านการทุจริต การคอร์รัปชัน รวมถึงการสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้พนักงานทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
6.5
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้บริษัท มีกลไกในการรับเรื่องร้องเรียนและการดําเนินการกรณีมีการชี้เบาะแส
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
6.5.1
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้มีกลไกและกระบวนการจัดการ ข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสีย และดูแลให้มีการจัดช่องทางเพื่อการรับข้อร้องเรียนที่มีความสะดวกและมีมากกว่าหนึ่งช่องทาง รวมทั้งเปิดเผยช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนไว้ใน website หรือรายงานประจําปี (แบบ 56-1 One Report)
6.5.2
คณะกรรมการจะดูแลให้มีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในกรณีที่มีการชี้เบาะแส โดยจะกําหนดให้มีช่องทางในการแจ้งเบาะแสผานทาง E-mail ของบริษัท หรือผ่านกรรมการอิสระ หรือ กรรมการตรวจสอบของบริษัทรวมทั้งมีกระบวนการตรวจสอบข้อมูล การดําเนินการ และรายงานต่อคณะกรรมการ
6.5.3
คณะกรรมการจะดูแลให้มีมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมแก่ผู้แจ้งเบาะแสที่แจ้งเบาะแสด้วยเจตนาสุจริต
หลักปฏิบัติ 7: รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
7.1
คณะกรรมการมีความรับผิดชอบในการดูแลให้ระบบการจัดทํารายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลสําคัญต่าง ๆ ถูกต้อง เพียงพอ ทันเวลา เป็นไปตามกฎเกณฑ์ มาตรฐาน และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
7.1.1
คณะกรรมการจะดูแลให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทําและเปิดเผยข้อมูล มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีจํานวนเพียงพอ โดยบุคลากรดังกล่าวหมายรวมถึงผู้บริหารสูงสุดสายงานบัญชีและการเงิน ผู้จัดทําบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน เลขานุการบริษัท และนักลงทุนสัมพันธ์
7.1.2
ในการให้ความเห็นชอบการเปิดเผยข้อมูล ให้คณะกรรมการคํานึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยในกรณีที่เป็นรายงานทางการเงิน จะพิจารณาปัจจัยอย่างน้อยดังต่อไปนี้ด้วย
01
ผลการประเมินความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน
02
วามเห็นของผู้สอบบัญชีในรายงานทางการเงิน และข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน รวมทั้งข้อสังเกตของผู้สอบบัญชีผ่านการสื่อสารในช่องทางอื่น ๆ (ถ้ามี)
03
ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ
04
ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก กลยุทธ์และนโยบายของบริษัท
7.1.3
คณะกรรมการจะดูแลให้การเปิดเผยข้อมูล ซึ่งรวมถึงงบการเงิน รายงานประจําปี แบบ 56-1 สะท้อนฐานะการเงินและผลการดําเนินงานอย่างเพียงพอ รวมทั้งสนับสนุนให้บริษัท จัดทําคําอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis หรือ MD&A) เพื่อประกอบการเปิดเผยงบการเงินทุกไตรมาส ทั้งนี้ เพื่อให้นักลงทุนได้รับทราบข้อมูลและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานของบริษัท ในแต่ละไตรมาสได้ดียิ่งขึ้น นอกจากข้อมูลตัวเลขในงบการเงินเพียงอย่างเดียว
7.1.4
ในกรณีที่การเปิดเผยข้อมูลรายการใดเกี่ยวข้องกับกรรมการรายใดรายหนึ่งเป็นการเฉพาะกรรมการรายนั้นจะดูแลให้การเปิดเผยในส่วนของตนมีความครบถ้วนถูกต้องด้วย เช่น ข้อมูลผู้ถือหุ้นของกลุ่มตน การเปิดเผยในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น (Shareholders Agreement) ของกลุ่มตน
7.2
คณะกรรมการจะติดตามดูแลความเพียงพอของสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชําระหนี้
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
7.2.1
คณะกรรมการจะดูแลให้ฝ่ายจัดการมีการติดตามและประเมินฐานะทางการเงินของบริษัท และมีการรายงานต่อคณะกรรมการอย่างสม่ําเสมอ โดยให้คณะกรรมการและฝ่ายจัดการร่วมกันหาทางแก้ไขโดยเร็วหากเริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ถึงปัญหาสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชําระหนี้
7.2.2
ในการอนุมัติการทํารายการใด ๆ หรือการเสนอความเห็นให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติ คณะกรรมการจะพิจารณาให้มั่นใจได้ว่า การทํารายการดังกล่าวจะไม่กระทบต่อความต่อเนื่องในการดําเนินกิจการ สภาพคล่องทางการเงินหรือความสามารถในการชําระหนี้
7.3
ในภาวะที่บริษัท ประสบปัญหาทางการเงินหรือมีแนวโน้มจะประสบปัญหา คณะกรรมการจะพิจารณาให้มั่นใจได้ว่า บริษัทมีแผนในการแก้ไขปัญหา หรือมีกลไกอื่นที่จะสามารถแก้ไขปัญหาทางการเงินได้ ทั้งนี้ ภายใต้การคํานึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
7.3.1
ในกรณีที่บริษัท มีแนวโน้มที่จะไม่สามารถชําระหนี้หรือมีปัญหาทางการเงินคณะกรรมการจะติดตามอย่าง ใกล้ชิด และดูแลให้บริษัท ประกอบธุรกิจด้วยความระมัดระวัง และปฏิบัติตามข้อกําหนดเกี่ยวกับการเปิดเผย
ข้อมูล
7.3.2
คณะกรรมการจะดูแลให้บริษัท กําหนดแผนการแก้ไขปัญหาทางการเงิน โดยคํานึงถึงความเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งรวมถึงเจ้าหนี้ ตลอดจนติดตามการแก้ไขปัญหา โดยให้ฝ่ายจัดการรายงานสถานะอย่างสม่ำเสมอ
7.3.3
คณะกรรมการจะพิจารณาให้มั่นใจได้ว่า การพิจารณาตัดสินใจใด ๆ ในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของบริษัทไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดจะต้องเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล
7.4
คณะกรรมการจะพิจารณาจัดทํารายงานความยั่งยืนตามความเหมาะสม
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
7.4.1
คณะกรรมการจะพิจารณาความเหมาะสมในการเปิดเผยข้อมูลการปฏิบัติตามกฎหมาย การปฏิบัติตามจรรยาบรรณ นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น การปฏิบัติต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และการเคารพสิทธิมนุษยชน รวมทั้งความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยคํานึงถึงกรอบการรายงานที่ได้รับการยอมรับในประเทศหรือในระดับสากล ทั้งนี้ อาจเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวไว้ในรายงานประจําปี หรืออาจจัดทําเป็นเล่มแยกต่างหากตามความเหมาะสมของบริษัท
7.4.2
คณะกรรมการจะดูแลให้ข้อมูลที่เปิดเผยเป็นเรื่องที่สําคัญและสะท้อนการปฏิบัติที่จะนําไปสู่การสร้างคุณค่าแก่ บริษัท อยางยั่งยืน
7.5
คณะกรรมการจะกํากับดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดให้มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบงานนักลงทุนสัมพันธ์ที่ทําหน้าที่ในการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น เช่น นักลงทุน นักวิเคราะห์ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เท่าเทียมกัน และทันเวลา
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
7.5.1
คณะกรรมการจะจัดให้มีนโยบายการสื่อสาร (Communication Policy) และนโยบายการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Policy) เพื่อให้มั่นใจได้ว่า การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลต่อบุคคลภายนอกเป็นไปอย่างเหมาะสม เท่าเทียมกัน ทันเวลา ใช้ช่องทางที่เหมาะสม ปกป้องข้อมูลลับและข้อมูลที่มีต่อผลต่อราคาหลักทรัพย์ รวมทั้งมีการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันทั้งองค์กรในการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว
7.5.2
คณะกรรมการจะจัดให้มีการกําหนดผู้ที่รับผิดชอบการให้ข้อมูลกับบุคคลภายนอก โดยเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่ เข้าใจธุรกิจของบริษัท รวมทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลัก ค่านิยมและสามารถสื่อสารกับตลาดทุนได้เป็นอย่างดี
7.5.3
คณะกรรมการจะดูแลให้ฝ่ายจัดการกําหนดทิศทางและสนับสนุนงานด้านนักลงทุนสัมพันธ์ เช่น การจัดให้มีหลักปฏิบัติในการให้ข้อมูล นโยบายการใช้ข้อมูลภายใน รวมทั้งกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของนักลงทุนสัมพันธ์ให้ชัดเจน เพื่อให้การสื่อสารและการเปิดเผยข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
7.6
คณะกรรมการจะส่งเสริมให้มีการนําเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูล
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
นอกจากการเผยแพร่ข้อมูลตามเกณฑ์ที่กําหนดและผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว คณะกรรมการจะพิจารณาให้มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผ่านช่องทางอื่นด้วย เช่น Website ของบริษัท โดยกระทําอย่างสม่ําเสมอ พร้อมทั้งนําเสนอข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้ บริษัท จะเปิดเผยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้บน Website ของบริษัท
01
วิสัยทัศนและคานิยมของบริษัท
02
ลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท
03
รายชื่อคณะกรรมการและผู้บริหาร
04
งบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดําเนินงานทั้งฉบับปัจจุบัน และของปีก่อนหน้า
05
แบบ 56-1 และรายงานประจําปี ที่สามารถให้ดาวน์โหลดได้
06
ข้อมูลหรือเอกสารอื่นใดที่บริษัท นําเสนอต่อนักวิเคราะห์ ผู้จัดการกองทุน หรือ สื่อต่าง ๆ
07
โครงสร้างการถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม
08
กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ของจํานวนหุ้นที่จําหน่ายได้แล้วทั้งหมด และมีสิทธิออกเสียง
09
การถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมของกรรมการ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง
10
หนังสือเชิญประชุมสามัญและวิสามัญผู้ถือหุ้น
11
ข้อบังคับของบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ
12
นโยบายการกํากับดูแลกิจการของบริษัท นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชั่น นโยบายรักษาความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และนโยบายด้านบริหารความเสี่ยง
13
กฎบัตร หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ คุณสมบัติ วาระการดํารงตําแหน่งของคณะกรรมการรวมถึงเรื่องที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ กฎบัตร หรือหน้าที่ความรับผิดชอบคุณสมบัติ วาระการดํารงตําแหน่งของ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
14
จรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ
15
ข้อมูลติดต่อหน่วยงานหรือร้องเรียน หรือบุคคลที่รับผิดชอบงานนักลงทุนสัมพันธ์ เลขานุการบริษัท เช่น ชื่อ บุคคลที่สามารถให้ข้อมูลได้ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล์
หลักปฏิบัติ 8: สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
8.1
คณะกรรมการจะดูแลให้มั่นใจว่า ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสําคัญของบริษัท
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
8.1.1
คณะกรรมการจะดูแลให้เรื่องสําคัญ ทั้งประเด็นที่กําหนดในกฎหมายและประเด็นที่อาจมีผลกระทบต่อทิศทางการดําเนินงานของบริษัท ได้ผ่านการพิจารณาและ/หรือการอนุมัติของผู้ถือหุ้น โดยเรื่องสําคัญดังกล่าวถูกบรรจุเป็นวาระการประชุมผู้ถือหุ้น
8.1.2
คณะกรรมการจะสนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้ถือหุ้น เช่น
01
การกําหนดหลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยสามารถเสนอเพิ่มวาระการประชุมล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยคณะกรรมการจะพิจารณาบรรจุเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอเป็นวาระการประชุม ซึ่งหากกรณีคณะกรรมการปฏิเสธเรื่องที่ผู้ถือหุ้นเสนอบรรจุเป็นวาระคณะกรรมการต้องแจ้งเหตุผลให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ
02
หลักเกณฑ์การให้ผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าดํารงตําแหน่งกรรมการ ทั้งนี้ คณะกรรมการจะดูแลให้มีการเปิดเผยหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า
8.1.3
คณะกรรมการจะดูแลให้หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นมีข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเพียงพอต่อการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น
8.1.4
คณะกรรมการจะดูแลให้มีการส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่บน website ของบริษัท อย่างน้อยสิบสี่ (14) วันก่อนวันประชุม
8.1.5
คณะกรรมการจะเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นส่งคําถามล่วงหน้าก่อนวันประชุม โดยกําหนดหลักเกณฑ์การส่งคําถามล่วงหน้า และเผยแพร่หลักเกณฑ์ดังกล่าวไว้บน website ของบริษัท ด้วย
8.1.6
หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและเอกสารที่เกี่ยวข้องจะถูกจัดทําเป็นภาษาอังกฤษทั้งฉบับ และเผยแพร่พร้อมกับฉบับภาษาไทย
ทั้งนี้ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น ประกอบด้วยข้อความดังต่อไปนี้
01
วัน เวลา และสถานที่จัดประชุมผู้ถือหุ้น
02
วาระการประชุม โดยระบุว่า เป็นวาระเพื่อทราบหรือเพื่ออนุมัติ รวมทั้งแบ่งเป็นเรื่อง ๆ อย่างชัดเจน เช่น ในวาระที่เกี่ยวกับกรรมการ ได้แยกเรื่องการเลือกตั้งกรรมการและการอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการเป็นแต่ละวาระ
03
วัตถุประสงค์และเหตุผล และความเห็นของคณะกรรมการในแต่ละวาระการประชุมที่เสนอซึ่งรวมถึง
A
วาระอนุมัติจ่ายปันผล - นโยบายการจ่ายเงินปันผล อัตราเงินปันผลที่เสนอจ่ายพร้อมทั้งเหตุผลและข้อมูลประกอบ ในกรณีที่เสนอให้งดจ่ายปันผล ให้อธิบายเหตุผลและข้อมูลประกอบ
B
วาระแต่งตั้งกรรมการ - ระบุชื่อ อายุ ประวัติการศึกษาและการทํางาน จํานวนบริษัทจดทะเบียนและบริษัททั่วไปที่ดํารงตําแหน่งกรรมการ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา ประเภทของกรรมการที่เสนอ และในกรณีที่เป็นการเสนอชื่อกรรมการเดิมกลับเข้ามาดํารงตําแหน่งอีกครั้งให้ระบุข้อมูลการเข้าร่วมประชุมปีที่ผ่านมา และวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการของบริษัท
C
วาระอนุมัติค่าตอบแทนกรรมการ – นโยบายและหลักเกณฑ์ในการกําหนดค่าตอบแทนของกรรมการแต่ละตําแหน่ง และค่าตอบแทนกรรมการทุกรูปแบบทั้งที่เป็นตัวเงินและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
D
วาระแต่งตั้งผู้สอบบัญชี - ชื่อผู้สอบบัญชี บริษัทที่สังกัด ประสบการณ์ทํางาน ความเป็นอิสระของผู้สอบบัญชี ค่าสอบบัญชีและค่าบริการอื่น
04
หนังสือมอบฉันทะตามแบบที่กระทรวงพาณิชย์กําหนด
05
ข้อมูลประกอบการประชุมอื่น ๆ เช่น ขั้นตอนการออกเสียงลงคะแนน การนับและแจ้งผลคะแนนเสียง สิทธิของหุ้นแต่ละประเภทในการลงคะแนนเสียง ข้อมูลของกรรมการอิสระที่บริษัท เสนอเป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้นเอกสารที่ผู้ถือหุ้นต้องแสดงก่อนเข้าประชุมเอกสารประกอบการมอบฉันทะ และแผนที่ของสถานที่จัดประชุม เป็นต้น
8.2
คณะกรรมการจะดูแลให้การดําเนินการในวันประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใสมีประสิทธิภาพ และเอื้อให้ผู้ถือหุ้นสามารถใช้สิทธิของตน
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
8.2.1
คณะกรรมการจะกําหนดวัน เวลา และสถานที่ประชุม โดยคํานึงถึงความสะดวกในการเข้าร่วมประชุมของผู้ถือหุ่น เช่น ช่วงเวลาการประชุมที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการอภิปราย สถานที่จัดประชุมที่สะดวกต่อการเดินทาง เป็นต้น
8.2.2
คณะกรรมการจะดูแลไม่ให้มีการกระทําใด ๆ ที่เป็นการจํากัดโอกาสการเข้าประชุมหรือสร้างภาระให้ผู้ถือหุ้นจนเกินควร เช่น ไม่กําหนดให้ผู้ถือหุ้นหรือผู้รับมอบฉันทะต้องนําเอกสารหรือหลักฐานแสดงตนเกินกว่าที่กําหนดไว้ในแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานกํากับดูแลที่เกี่ยวข้อง
8.2.3
คณะกรรมการจะส่งเสริมการนําเทคโนโลยีมาใช้กับการประชุมผู้ถือหุ้น ทั้งการลงทะเบียนผู้ถือหุ้น การนับ คะแนนและแสดงผล เพื่อให้การดําเนินการประชุมสามารถกระทําได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยํา
8.2.4
ประธานกรรมการเป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้น มีหน้าที่ดูแลให้การประชุมให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และข้อบังคับของบริษัท จัดสรรเวลาสําหรับแต่ละวาระการประชุมที่กําหนดไว้ในหนังสือนัดประชุมอย่างเหมาะสม และเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความเห็นและตั้งคํานึงถามต่อที่ประชุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
8.2.5
เพื่อให้ผู้ถือหุ้นสามารถร่วมตัดสินใจในเรื่องสําคัญได้ กรรมการในฐานะผู้เข้าร่วมประชุมและในฐานะผู้ถือหุ้นไม่สนับสนุนการเพิ่มวาระการประชุมที่ไม่ได้แจ้งเป็นการล่วงหน้าโดยไม่จําเป็น โดยเฉพาะวาระสําคัญที่ผู้ถือหุ้นต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ
8.2.6
สนับสนุนให้กรรมการทุกคนและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม เพื่อผู้ถือหุ้นสามารถซักถามในประเด็น
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
8.2.7
ก่อนเริ่มการประชุม ให้บริษัท แจ้งผู้ถือหุ้นให้ทราบถึงจํานวนและสัดส่วนของผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง และของผู้ถือหุ้นที่มอบฉันทะ วิธีการประชุม การลงคะแนนเสียงและการนับคะแนนเสียง
8.2.8
ในกรณีที่วาระใดมีหลายรายการ ประธานที่ประชุมจะจัดให้มีการลงมติแยกในแต่ละรายการเช่น ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในการแต่งตั้งกรรมการเป็นรายบุคคลในวาระการแต่งตั้งกรรมการ
8.2.9
คณะกรรมการจะสนับสนุนให้มีการใช้บัตรลงคะแนนเสียงในวาระที่สําคัญ และส่งเสริมให้มีบุคคลที่เป็นอิสระเป็นผู้ตรวจนับหรือตรวจสอบคะแนนเสียงในการประชุม และเปิดเผยผลการลงคะแนนที่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยและงดออกเสียง ในแต่ละวาระให้ที่ประชุมทราบพร้อมทั้งบันทึกไว้ในรายงานการประชุม
8.3
คณะกรรมการจะดูแลให้การเปิดเผยมติที่ประชุมและการจัดทํารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามหลักปฏิบัติ
8.3.1
คณะกรรมการจะดูแลให้บริษัท เปิดเผยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นพร้อมผลการลงคะแนนเสียงภายในวันทําการถัดไปผ่านระบบขาวของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบน website ของบริษัท
8.3.2
คณะกรรมการจะดูแลให้การจัดส่งสําเนารายงานการประชุมผู้ถือหุ้นให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยภายในสิบสี่ (14) วันนับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น
8.3.3
คณะกรรมการจะดูแลให้มีรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นได้บันทึกข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
01
รายชื่อกรรมการและผู้บริหารที่เข้าประชุม และสัดส่วนกรรมการที่เข้าร่วมการประชุมไม่เข้าร่วมการประชุม
02
วิธีการลงคะแนนและนับคะแนน มติที่ประชุม และผลการลงคะแนน (เห็นชอบ ไม่เห็นชอบงดออกเสียง) ของแต่ละวาระ
03
ประเด็นคําถามและคําตอบในที่ประชุม รวมทั้งชื่อ-นามสกุลของผู้ถามและผู้ตอบ